วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สีสันของเครื่องดนตรีสากล : เครื่องลมทองเหลือง

          เครื่องลมทองเหลือง (Brasses) มีสันสันของเสียงที่แตกต่างกันดังนี้
          ทรัมเป็ต (trumpet) มีเสียงแหลมที่สุดในกลุ่มแตร เป็นเครื่องเป่าสัญญาณประจำองค์พระมหากษัตริย์ มีเสียงสดใสสง่างามรุกเร้าใจให้ตื่นเต้น เสียงทรัมเป็ต เหมาะสำหรับใช้บรรเลงเพลงที่ีต้องการความตื่นเต้น ความสง่างาม แต่ก็อาจบรรเลงเพลงอ่อนหวานได้ด้วย


ที่มา : Youtube
  


          ทรอมโบน (trombone) เสียงของทรอมโบนเป็นเสียงทุ้มต่ำตามขนาดของลำตัว สามารถบรรเลงได้ 2 สีสัน คือ บรรเลงให้มีเสียงดังกระแทก ชวนให้รู้สึกตื่นเต้น กับบรรเลงให้สุภาพนุ่มนวล ชวนให้รู้สึกอ่อนหวานหรือโศกเศร้าก็ได้


ที่มา : Youtube
           เฟรนซ์ฮอร์น (French horn) มีเสียงทุ้มต่ำ โปร่งเบา ฟังสบายหู มีช่วงเสียง 3 ช่วงทบครึ่งนับจากเสียง "B ระดับเบส" ถอยหลังลงไป นิยมใช้เป็นเครื่องเป่าสัญญาณในการล่าสัตว์ เพราะมีเสียงโปร่งเบา สัตว์ได้ยินแล้วไม่แตกตื่น ใช้เล่นแนวประสานเสียงและแนวเี่ดี่ยวทำนองในวงออร์เคสตรา




ที่มา : Youtube

          ทูบา (Tuba) เสียงของแตรทูบา เป็นเสียงเบสทุ้มต่ำลึก เล่นทำนองจะให้ความรู้สึกเคร่งขรึม เครียด แต่สง่า และถ้าใช้เล่นจังหวะห้วน ๆ จะชวนรู้สึกตื่นเต้นสนุกสนาน 


ที่มา : Youtube


ที่มา : สำเร็จ คำโมง. รู้รอบครอบจักรวาลดนตรี, 2537

สีสันของเครื่องดนตรีสากล : เครื่องลมไม้

          เครื่องลมไม้ (Woodwinds) จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
          1. กลุ่มไม่มีลิ้น  ได้แก่ ฟลุต และปิคโคโล
          2. กลุ่มลิ้นเดี่ยว ได้แก่ คลาริเนท และแซกโซโฟน
          3. กลุ่มลิ้นคู่ ได้แก่ โอโบ อิงลิชฮอร์น และบาซซูน
          สีสันของเครื่องดนตรีสากล : เครื่องลมไม้ มีความแตกต่างกัน ดังนี้
กลุ่มไม่มีลิ้น
           ปิโคโล (piccolo) มีเสียงแหลมที่สุดในวงออร์เคสตรา เป็นเสียงแจ่มใส สามารถดังลอดเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ในวงออกมาให้ได้ยินอย่างชัดเจน เหมาะที่จะใช้บรรเลงทำนองร่าเริงสนุกสนานกระโดดโลดแล่น


ที่มา : Youtube

           ฟลุต (flute) มีเสียงแจ่มใสชัดเจน จนนุ่มนวลเหมือนเสียงนกร้อง ให้อารมณ์อ่อนหวานร่าเริง ใช้เล่นทำนองที่เลื่อนไหลรวดเร็วได้อย่างคล่องแคล่ว

ที่มา :  Youtube

กลุ่มลิ้นเดี่ยว
           คลาริเนท (clarinets) เสียงปี่คลาริเนทมีสีสันหลากหลาย อยู่ในช่วงเสียง 3 ช่วงทบ เสียงในช่วงทบต่ำแตกต่างจากเสียงในช่วงทบสูง คลาริเนทมีหลายขนาด แต่ที่ใช้มากมี 3 ขนาด คือ ปี่คลาริเนท Eb และปี่คลาริเนท A
ในเรจิสเตอร์เสียงโซปราโน (soprano) กับปี่คลาริเนท Bb ระดับเสียงเบส

ที่มา : Youtube
          แซกโซโฟน (saxophones)  มีหลายขนาดเรียงลำดับจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ คือ โซปราโน 
แซกโซโฟน  อัลโตแซกโซโฟน เทเนอร์แซกโซโฟน และบาริโทนแซกโซโฟน  เสียงของแซกโซโฟน หลอมรวม
เอาเสียงของเครื่องลมทุกอย่างไว้ด้วยกัน สามารถเล่นให้กลมกลืนกับเครื่องเป่าอื่น ๆ ได้ดี จะเป่าให้นุ่มนวลเหมือนฟลุตกลมกล่อมเหมือนเชลโล หรือแผดจ้าเหมือนแตรคอร์เนตก็ได้  ส่วนใหญ่จะใช้บรรเลงเพลงแจ๊ส
เพลงป๊อปปูลา และเพลงเดินแถว


ที่มา : Youtube

กลุ่มลิ้นคู่
          โอโบ (oboe) มีเสียงเล็กแหลมแหบและโหยหวนละห้อย มีช่วงเสียงแคบอยู่ระหว่าง 2 ช่วงทบเหนือ "C กลาง" เหมาะที่จะใช้เล่นทำนองแบบลื่นไหลแสดงอารมณ์โศกเศร้าบีบคั้นเสียดแทงใจ


ที่มา : Youtube
       
          อิงลิซฮอร์น หรือคอร์แองเกลส์ (English horn หรือ Cor anglais) คุณภาพเสียงเหมือนกันกับโอโบ แต่ทุ้มต่ำและแหบแห้งออกนาสิกมากกว่า เหมาะที่จะใช้เล่นทำนองโศกเศร้าให้อารมณ์ลึกลับ

ที่มา : Youtube
          บาซซูน (bassoon) มีเสียงทุ้มแหบพร่า เล่นทำนองเครียดและเคร่งขรึม  แต่ถ้าเล่นเสียงห้วน ๆ จะดังปุด ๆ จะให้ความรู้สึกขบขัน ในโอเปร่านิยมใช้บรรเลงประกอบท่าตลกของตัวละครเช่นคนเมา 

ที่มา : Youtube

ที่มา : สำเร็จ คำโมง. รู้รอบครอบจักรวาลดนตรี, 2537

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สีสันของเครื่องดนตรีสากล : เครื่องสาย

สีสันของเครื่องดนตรีสากล : เครื่องสาย
       เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสาย เป็นเครื่องดนตรีที่มีลำตัวกลวง ขึงสายหลายสาย ทำให้เกิดเสียงโดยการดีดและสี
       เครื่องดีด ได้แก่ ฮาร์พ
       เครื่องสี  ได้แก่  ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และเบสวิโอล (หรือดับเบิลเบส)
       เครื่องสายทั้งเครื่องดีด และเครื่องสี มีสีสันของเสียงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการบรรเลง ดังนี้

เครื่องดีด
       ฮาร์พ  (harp) เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงสั้นแกร่งคมและดังกังวานแจ่มใส เล่นได้แบบแตกคอร์ด (arpeggio) หรือเล่นแบบลากนิ้วผ่านสายอย่างรวดเร็ว ให้เสียงเลื่อนไหล หรือจะใช้เล่นทำนองเดี่ยวเหมือนกีตาร์หรือ
แมนโดลินก็ไ้ด้
ที่มา : youtube


การแสดงดนตรีฮาร์พ เสียงเพลงในสายพิณ เฉลิมฉลองเดือนธันวาคมมหาราช

"Thai song from the Harp String"
Celebrating the Great Month of December
๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

ครื่องสี      ไวโอลิน (violin)  เป็นเครื่องดนตรีที่ทำอารมณ์เสียงได้ทุกอารมณ์ ทั้งอ่อนหวาน ร่าเริง ระริกระรี้ เกรี้ยวกราด จนกระทั้งโศกเศร้า ทำไดนามิคเสียงได้ ตั้งแต่ผิวแผ่วไปจนถึงกรีดร้องจนหนวกหู

                                                                        ที่มา : youtube

     วิโอลา (viola) เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำกว่า ไวโอลิน (violin) อยู่ 5 เสียง มีเสียงทุ้มต่ำและมืด ให้ความรู้สึกเศร้าสร้อยและเหี่ยวแห้ง ใช้เล่นทำนองปนเศร้าได้ แต่ส่วนใหญ่ใช้บรรเลงแนวประสาน หรือไม่ก็เล่นแนวทำนองเป็นเงาให้แก่เครื่องดนตรีชนิดอื่น
                                                                        ที่มา : youtube

     เชลโล (cello) เป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงต่ำกว่า วิโอลา (viola) 1 ช่วงทบ มีช่วงเสียงเทียบเท่ากับเสียง
บาริโทน เสียงเชลโลให้ความอบอุ่น กลมกล่อม ทำอารมณ์ได้หลากหลาย ใช้บรรเลงทำนองได้อย่างงดงาม 

     


                                                                      ที่มา : youtube


     เบสวิโอล (bass viol) หรือดับเบิลเบส (double bass) เป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงทุ้มต่ำที่สุดในวงออร์เคสตรา ปกติไม่ใช้เล่นทำนองเดี่ยว มักใช้เป็นแนวเบสของบทบรรเลง เมื่อใช้เล่นทำนองจะให้อารมณ์ตื่นเต้น มือทึบเคร่งเครียด และน่าสะพรึงกลัว
                                                                        ที่มา : youtube



                                                                    ที่มา : youtube

ที่มา : สำเร็จ คำโมง. รู้รอบครอบจักรวาลดนตรี, 2537

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา


คำอธิบายรายวิชา

ศ32102  ดนตรี และนาฏศิลป์                                                                                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ภาคเรียนที่ 2                                                                      เวลา  20  ชั่วโมง      จำนวน  0.5  หน่วยกิต    
......................................................................................................................................................................................................................
คำอธิบายรายวิชา
            ศึกษา จำแนกและเปรียบเทียบรูปแบบการจัดวงดนตรีสากล ฝึกอ่านเขียนเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง วิเคราะห์ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม รวมทั้งการนำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ สร้างเกณฑ์ในการประเมินผลงานทางดนตรี
            ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่ หลักการสร้างสรรค์และการวิจารณ์ละคร หลักการชมการแสดงละคร วิวัฒนาการของนาฏศิลป์สากล ความงามและคุณค่าของนาฏศิลป์สากล การประเมินคุณภาพของการแสดง วิเคราะห์ท่าทางและการเคลื่อนไหวของผู้คนในชีวิตประจำวัน และนำมาประยุกต์ใช้ในการแสดง การนำการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ และการอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
            กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตภาพ ศึกษาใบความรู้ โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์จำแนกประเภท อธิบาย เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง การสรุปความรู้และการจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ สร้างและนำเสนอผลงานด้านดนตรี และนาฏศิลป์ให้ได้ผลตามที่ต้องการ สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความคิด ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจความไพเราะและงดงามของดนตรีและนาฏศิลป์ บรรยายและอธิบายเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ได้สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
เห็นความสำคัญและคุณค่าของดนตรี นาฏศิลป์ไทยและสากล สามารถนำความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ตลอดจนสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ เชื่อมั่น ภาคภูมิใจในการแสดงออก รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น และเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

รหัสตัวชี้วัด
          ศ 2.1 ม.4-6/1, ม.4-6/2, ม.4-6/3, ม.4-6/4, ม.4-6/5, ม.4-6/6, ม.4-6/8
          ศ 2.2 ม.4-6/2, ม.4-6/4, ม.4-6/5
          ศ 3.1 ม.4-6/3, ม.4-6/4, ม.4-6/5, ม.4-6/7, ม.4-6/8
ศ 3.2 ม.4-6/1, ม.4-6/4
รวมทั้งหมด 17 ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

สาระที่ 2 :  ดนตรี
มาตรฐาน ศ 2.1  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ม.4-6/1  เปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภท
          ม.4-6/2  จำแนกประเภทและรูปแบบของวงดนตรีทั้งไทยและสากล
          ม.4-6/3   อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์งานดนตรีแตกต่างกัน
          ม.4-6/4  อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ
           ม.4-6/5. ร้องเพลง หรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวงโดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง
          ม.4-6/6. สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์ และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
          ม.4-6/8. นำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ
มาตรฐาน ศ 2.2  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสาก
          ม.4-6/2  วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
          ม.4-6/4  อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิด และค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม
          ม.4-6/5  นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ
สาระที่ 3 : นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ม.4-6/3  ใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่
          ม.4-6/4   วิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร
          ม.4-6/5   วิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมาย
ในการแสดง
          ม.4-6/7   พัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินในการประเมินการแสดง
          ม.4-6/8   วิเคราะห์ท่าทาง และการเคลื่อนไหวของผู้คนในชีวิตประจำวันและนำมาประยุกต์ใช้ในการแสดง
มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปั
­­ญญาท้องถิ่น ภูมิปั­­ญญาไทยและสากล
          ม.4-6/1   เปรียบเทียบการนำการแสดงไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ
          ม.4-6/4   นำเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย